ประวัติ ของ วิมล วงศ์วานิช

การศึกษา

ประวัติรับราชการ

  • พ.ศ. 2501 ประจำกองบัญชาการศูนย์การทหารราบ ผู้บังคับหมวดอาวุธ กองพันที่ ๒ กรมทหารราบที่ ๑ มหาดเล็ก รักษาพระองค์ และรับพระราชทานยศร้อยตรี
  • พ.ศ. 2503 ผู้บังคับตอนปืนไร้แสงสะท้อนถอยหลัง กองร้อยกองบังคับการ กองพันที่ ๒ กรมทหารราบที่ ๑ มหาดเล็กรักษาพระองค์
  • พ.ศ. 2504 ผู้บังคับหมวดปืนเล็ก กองร้อยอาวุธเบา กองพันที่ ๒ กรมทหารราบที่ ๑ มหาดเล็กรักษาพระองค์ และรับพระราชทานยศร้อยโท
  • พ.ศ. 2505 ผู้บังคับหมวดปืนเล็ก กองร้อยอาวุธเบา กองพันที่ ๒ กรมทหารราบที่ ๒๑ รักษาพระองค์ ผู้บังคับชุดปฏิบัติการ กองร้อยทหารพลร่ม กองพันทหาร พลร่ม
  • พ.ศ. 2506 ผู้บังคับชุดปฏิบัติการ กองร้อยรบพิเศษ กองรบพิเศษ (พลร่ม)
  • พ.ศ. 2507ผู้ช่วยนายทหารยุทธการ และการฝึก กองรบพิเศษ (พลร่ม) และรับพระราชทานยศร้อยเอก
  • พ.ศ. 2509 ประจำศูนย์รักษาความปลอดภัย สำนักผู้บัญชาการทหารสูงสุด ประจำกองบัญชาการโรงเรียนเสนาธิการทหารบก
  • พ.ศ. 2510 รักษาราชการ นายทหารยุทธการ และการฝึก กรมผสมที่ ๖
  • พ.ศ. 2511 รับพระราชทานยศพันตรี
  • พ.ศ. 2512 รักษาราชการ เสนาธิการ กรมผสมที่ ๖ หัวหน้าแผนกกำลังพล กองพลที่ ๓
  • พ.ศ. 2513 หัวหน้ากองค้นคว้าและพัฒนาการรบ ศูนย์สงครามพิเศษ
  • พ.ศ. 2515 รับพระราชทานยศพันโท
  • พ.ศ. 2516 หัวหน้าฝ่ายยุทธการ และการฝึก ศูนย์สงครามพิเศษ
  • พ.ศ. 2518 รองเสนาธิการ มณฑลทหารบกที่ ๖
  • พ.ศ. 2519 รับพระราชทานยศพันเอก
  • พ.ศ. 2520 ประจำกรมยุทธศึกษาทหารบก
  • พ.ศ. 2521 อาจารย์หัวหน้ากองส่วนวิชาการยุทธวิธี โรงเรียนเสนาธิการทหารบก สถาบันวิชาการทหารบกชั้นสูง
  • พ.ศ. 2522 ผู้บังคับการกรมผสมที่ ๖
  • พ.ศ. 2523 รองผู้บัญชาการกองพลทหารราบที่ ๖
  • พ.ศ. 2525 ผู้บัญชาการกองพลรบพิเศษที่ ๑ และรับพระราชทานยศพลตรี
  • พ.ศ. 2528 ผู้บัญชาการกองพลที่ ๑ รักษาพระองค์
  • พ.ศ. 2529 ผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการสงครามพิเศษ และรับพระราชทานยศพลโท
  • พ.ศ. 2532 แม่ทัพภาคที่ ๒
  • พ.ศ. 2533 ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบก และรับพระราชทานยศพลเอก กรรมการในคณะกรรมการวิสามัญศึกษาปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ [3]
  • พ.ศ. 2534 รองผู้บัญชาการทหารสูงสุด
  • พ.ศ. 2535 ผู้บัญชาการทหารบก

ราชการพิเศษหรือตำแหน่งพิเศษ

  • พ.ศ. 2515 ปฏิบัติราชการปราบปราม ผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ เป็น ผู้บังคับพันพิเศษ ค่ายสฤษดิ์เสนา
  • พ.ศ. 2524 ราชองครักษ์
  • พ.ศ. 2526 นายทหารพิเศษประจำกรมทหารราบที่ ๑ มหาดเล็กรักษาพระองค์
  • พ.ศ. 2534 รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม[4]

ใกล้เคียง

วิมล วงศ์วานิช วิมลพันธ์ ชาลีจังหาญ วิมลศิริ ชำนาญเวช วิมล วิริยะวิทย์ วิมล ไทรนิ่มนวล วิมล ศิริไพบูลย์ วิลเลียม เชกสเปียร์ วิลลี่ แมคอินทอช วิลยนอร์ สุพรหมัณยัม รามจันทรัน วิมานไฟ